CALL US TODAY
02-096-3496

Weekdays
09:30 ~ 18:00

กรณีศึกษา: บริษัทรถยนต์บุกตลาด "แบตเตอรี่" จากธุรกิจผลิตรถยนต์สู่ผู้ให้เช่าแบตเตอรี่รายใหญ่ในญี่ปุ่น

อุตสาหากรรม

ยานยนต์

ปัญหา

อุตสาหกรรมผลิตและจำหน่ายรถยนต์ที่บริษัทประกอบธุรกิจหลักอยู่ กำลังได้รับผลกระทบจากการเข้ามาสู่ตลาดของรถยนต์ไฟฟ้า อันมีผลให้ยอดขายของยานพาหนะหลายประเภทของบริษัทตกลง ส่งผลให้บริษัทจำเป็นต้องหาธุรกิจใหม่ที่จะเข้ามาเป็นเสาหลักของรายได้ในอนาคต แต่ก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะเป็นธุรกิจใด

ประเด็นสำคัญ

> การศึกษาตลาดเพื่อธุรกิจใหม่
> พันธมิตรสำหรับธุรกิจใหม่
> ผลกระทบจากยานยนต์ไฟฟ้า (EV)

ผลลัพธ์

บริษัทรถยนต์แห่งนี้ร่วมทำงานกับลิบ คอนซัลติ้ง และสามารถเริ่มทำธุรกิจผู้ให้เช่าแบตเตอรี่เอนกประสงค์ได้ภายในระยะเวลา1ปี บริษัทได้สำรวจความต้องการของตลาดไปจนกระทั่งได้ผู้ร่วมมือทางธุรกิจ (Business partners) ทั้งหมด 3 บริษัท มากไปกว่านั้นแบตเตอรี่เอนกประสงค์นี้ สามารถใช้งานได้ไม่ใช่แค่เพียงกับรถยนต์ไฟฟ้า แต่ยังสามารถใช้งานกับแบตเตอรี่ภายในอาคารอีกด้วย ส่งผลให้บริษัทรถยนต์แห่งนี้มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถทำรายได้ได้มากถึง 50 ล้านบาท ต่อปี

บริบท

โดยทั่วไปบริษัทที่มีแผนกำลังจะเริ่มธุรกิจใหม่ มักจะมีความกังวลที่ว่า จะใช้ทรัพยากรที่บริษัทตนเองมีอยู่ในการสร้างธุรกิจใหม่ได้อย่างไรบ้าง โดยเฉพาะกับบริษัทได้ใช้ทรัพยากรต่างๆ กับธุรกิจเดิมๆ มาตลอด เมื่อต้องคิดถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ บริษัทเหล่านี้มักไม่สามารถประยุกต์ใช้ข้อดีของทรัพยากร หรือจุดแข็งที่มีได้เท่าที่ควร มากไปกว่านั้นแม้ว่าบริษัทจะรู้ในจุดแข็งของตัวเองดีแล้ว ก็มักจะไม่มั่นใจในความต้องการของลูกค้าในตลาดว่ามีความต้องการผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่ๆ หรือไม่

บริษัทนี้เป็นบริษัทในเครือผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งผลิตยานพาหนะหลากหลายประเภทตั้งแต่ขนาดรถสองล้อขึ้นไป การเกิดขึ้นของยานพาหนะไฟฟ้า นำไปสู่การตกลงของยอดขายผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัท แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดโอกาสของธุรกิจใหม่ๆจากยานพาหนะไฟฟ้าอีกหลากหลายประเภทอีกด้วย บริษัทนี้ต้องการที่จะเริ่มธุรกิจใหม่ให้ไวที่สุด เพราะไม่อยากเสียโอกาสในตลาดหากรอให้ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเรียบร้อยก่อน จึงได้ติดต่อให้ลิบ คอนซัลติ้งเข้าไปช่วยโปรเจคสร้างธุรกิจใหม่โดยเริ่มจากศูนย์

บริษัทผู้ผลิตรถยนต์แห่งนี้มีทรัพยากรที่เป็นจุดแข็งของบริษัทคือ “แบตเตอรี่” สำหรับยานพาหนะชนิดหนึ่ง ซึ่งบริษัทต้องการนำแบตเตอรี่เหล่านี้มาใช้ในการสร้างธุรกิจใหม่ เพื่อเตรียมตัวรับมือกับการเข้ามาสู่ตลาดของรถยนต์ไฟฟ้า ในตอนแรกนั้นบริษัทรถยนต์แห่งนี้ยังไม่มั่นใจว่าแบตเตอรี่ของบริษัทตนเอง ในความจริงแล้วสามารถใช้งานได้กับลูกค้ากลุ่มใดบ้าง และลูกค้าแต่ละกลุ่มมีความต้องการแบตเตอรี่มากน้อยเพียงใด

สิ่งแรกลิบ คอนซัลติ้งช่วยบริษัทผู้ผลิตรถยนต์แห่งนี้ คือ การหาโอกาสของธุรกิจจากภายในสู่ภายนอก (inside-out) โดยใช้โอกาสธุรกิจจาก “แบตเตอรี่” ที่บริษัทนี้มีเพื่อทำบริการเกี่ยวกับการให้เช่าแบตเตอรี่ (BaaS : Battery as a Service) 

[การสำรวจตลาด “แบตเตอรี่” ในตลาดญี่ปุ่น]

สิ่งที่ยากที่สุดในการทำโปรเจคนี้ ไม่ใช่การสร้างไอเดียธุรกิจที่แปลกใหม่ แต่เป็นการหาโอกาสสร้างธุรกิจใหม่ในตลาดการให้เช่าแบตเตอรี่ที่ผู้เล่นรายใหม่ไม่สามารถเข้าไปได้ง่าย ๆ เนื่องจาก

  1. บริษัทรถยนต์แห่งนี้ไม่สามารถผลิตแบตเตอรี่ได้ด้วยตัวเอง ส่งผลให้บริษัทรถยนต์แห่งนี้ต้องใช้แบตเตอรี่ที่มีอยู่แล้วเพื่อเริ่มธุรกิจให้เช่าแบตเตอรี่ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม บริษัทก็ไม่สามารถขายแบตเตอรี่ได้ในราคาถูก และคุณภาพดีกว่าบริษัทที่ผลิตแบตเตอรี่ทั่วไปได้ บริษัทนี้จึงมองไม่เห็นความต้องในผลิตภัณฑ์การของลูกค้าในตลาด 
  2. บริษัทรถยนต์แห่งนี้ไม่รู้ว่า จะมีลูกค้าที่ต้องการแบตเตอรี่ของบริษัทตนเอง อยู่ในตลาดประเทศญี่ปุ่นจริงหรือไม่ เนื่องจากโดยปกติแล้วแบตเตอรี่ของบริษัทนี้ จะสามารถใช้งานได้เพียงกับยานพาหนะบางประเภทเท่านั้น
  3. บริษัทไม่สามารถเข้าสำรวจตลาดได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากนโยบายที่เข้มงวดของบริษัทที่ต้องใช้เวลาในการทำเอกสารต่างๆเพื่อขออนุญาตติดต่อกับคนภายนอกเพื่อเก็บข้อมูล

ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในโปรเจคนี้ คือการที่ลิบ คอนซัลติ้งสามารถจัดลำดับวิธีการใช้งานต่างๆ ของแบตเตอรี่ทุกชนิด และทำการสัมภาษณ์ผู้ใช้แบตเตอรี่ขนาดต่างๆ จากผู้ใช้กว่า 30 อาชีพ จึงพบว่ามีความต้องการแบตเตอรี่ที่ดีขึ้นและความไม่พึงพอใจในการใช้แบตเตอรี่ในชีวิตประจำวันอยู่อีกมาก ส่งผลให้ลิบ คอนซัลติ้งสามารถคิดค้นโมเดลธุรกิจเพื่อการให้เช่าแบตเตอรี่และสร้างฐานลูกค้ากลุ่มแรกให้กับบริษัทแห่งนี้ได้ภายในเวลา 3 เดือน