CALL US TODAY
02-096-3496

Weekdays
09:30 ~ 18:00

Diagnosis

การวินิจฉัย : การบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ(OpX diagnosis)

ปลดล็อคศักยภาพธุรกิจของคุณแบบเต็มรูปแบบ ผ่านการประเมินอย่างละเอียดที่ครอบคลุมตั้งแต่ ต้นทุน กระบวนการ และระบบต่างๆจึงทำให้คุณสามารถระบุจุดที่ต้องการการปรับปรุงและเป็นแนวทางการแก้ไขที่รวดเร็วและยืนยาวผ่านการค้นพบสาเหตุหลักของปัญหา

กลยุทธ์ที่ 1 : การกำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ

ปลดล็อคศักยภาพธุรกิจของคุณแบบเต็มรูปแบบผ่านการประเมินอย่างละเอียดที่ครอบคลุมตั้งแต่ต้นทุน กระบวนการ และระบบต่างๆ จึงทำให้คุณสามารถระบุจุดที่ต้องการการปรับปรุงและเป็นแนวทางการแก้ไขที่รวดเร็วและยืนยาวผ่านการค้นพบสาเหตุหลักของปัญหา

    • ที่ลิบ คอนซัลติ้ง เราสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลต่างๆ จากหลากหลายอุตสาหกรรม ทำให้เราสามารถออกแบบโซลูชันที่ตรงกับบริบทเฉพาะเจาะจงต่อธุรกิจของคุณ
    • เรามองลึกลงไปมากกว่าการวิเคราะห์แบบผิวเผินเพื่อระบุประเด็นสำคัญของธุรกิจคุณ ด้วยแนวคิดนี้จึงทำให้เราสามารถให้คำแนะนำที่ตรงจุดสำหรับการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สาเหตุที่บริษัทไม่สามารถปลดล็อกศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่

หากบริษัทของคุณกำลังพบเจอหนึ่งในปัญหาดังต่อไป นี่อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าบริษัทของคุณอาจมีต้นทุนหรือกระบวนการที่ยังสามารถปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นได้ผ่าน “การกำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ (OpX strategy formulation)”

  1. แม้มีการดำเนินการลดต้นทุนในทุกแผนกแต่การวัดผลลัพธ์ยังพิสูจน์ได้ยากและยังไม่เห็นผลกระทบที่ชัดเจนต่องบกำไรขาดทุนโดยรวม
  2. แผนการดำเนินการลดต้นทุนที่ได้จากการคิดแผนหน้างานจุดประเด็นความไม่มั่นใจเกี่ยวกับการจัดการกับพื้นที่ที่มีผลกระทบสูงอย่างครอบคลุมจริงหรือไม่ ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถระบุได้ว่าแผนที่ดำเนินการไปนั้นมีผลลัพธ์ที่ดี
  3. แม้ว่าจะมีการนำเทคโนโลยีหรือโปรแกรมใหม่ๆเข้ามาปรับใช้ อย่างไรก็ตาม กระบวนการทำงานกลับไม่ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและจำนวนพนักงานยังคงเท่าเดิม
  4. การตั้งเป้าหมายของการลดต้นทุนเกิดจากการคาดการณ์ผ่านประสบการณ์โดยไม่เปรียบเทียบกับมาตรฐานอุตสาหกรรมเพื่อกำหนดเป้าหมายที่เหมาะสม
  5. ไม่มีเวลาในการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องเพราะมีงานที่ต้องทำประจำอยู่แล้ว ส่งผลให้โครงการที่กำลังดำเนินการเกิดการล่าช้า ปัญหาไม่ถูกแก้ไขอย่างเหมาะสม และไม่สามารถบรรลุผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

ความสามารถ

ความสามารถที่ 1: การวินิจฉัยต้นทุน

การวินิจฉัยความเป็นเลิศด้านการดำเนินงาน คือ การวินิจฉัยต้นทุนและประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยรวมของทั้งบริษัท โดยมุ่งค้นหาปัญหาที่ทำให้เกิดต้นทุนสูงและสามารถปรับปรุงได้ เพื่อให้บริษัททราบถึงปัญหาสำคัญ และแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาซึ่งนำไปสู่ผลกำไรที่เพิ่มขึ้น

ความสามารถที่ 2: การคำนวณกำไรและขาดทุน (P&L) แยกตามสินค้า/ไลน์สินค้า

การคำนวณกำไรและขาดทุน (P&L) แยกตามสินค้า/ไลน์สินค้า คือ การวิเคราะห์ทางการเงินที่พิจารณาความสามารถในการทำกำไรของแต่ละสินค้าในธุรกิจ การวิเคราะห์นี้ให้ข้อมูลและข้อสังเกตเกี่ยวกับราคาสินค้า โครงสร้างต้นทุน และประสิทธิผลของสินค้า ซึ่งช่วยให้การตัดสินใจมีความครอบคลุมทั้งนี้เพื่อเพิ่มกำไรผ่านการปรับราคา การพัฒนาสินค้า และมาตรการลดต้นทุน

กรณีศึกษา

กรณีศึกษาที่ 1: กำหนดกลยุทธ์ที่จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันอย่างยั่งยืน

อุตสาหกรรม:

การแปรรูปอาหาร

ปัญหา:

หลายๆบริษัทสร้างแผนปรับปรุงพัฒนางาน ด้วยการให้แต่ละแผนกทำแผนบริหารจัดการต้นทุนของตัวเอง โดยมิได้คำนึงเป้าหมายที่แท้จริงในระยะยาวของบริษัท อีกทั้งขาดการวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมอื่นๆทั้งปัจจัยภายนอกบริษัท เช่นคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือปัจจัยภายใน เช่นโครงสร้างต้นทุนของบริษัทเป็นต้น ส่งผลใหแผนปรับปรุงพัฒนาที่สร้างขึ้นไม่ตอบโจทย์ อีกทั้งยังไม่สะท้อนถึงปัญหาที่แท้จริงที่ควรจะให้ความสำคัญ ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

ผลลัพธ์ :

ผลการวินิจฉัยความเป็นเลิศด้านการดำเนินงาน (OpX diagnosis) พบปัญหาหลัก คือ การจัดวางเครื่องจักรในสายผลิตที่ทำให้กระบวนการผลิตไม่ต่อเนื่องและต้องใช้พนักงานมากเกินความจำเป็นในงานขนย้ายสินค้าไปยังจุดอื่น โดยลิบ คอนซัลติ้งได้นำเสนอแผนปรับปรุงไลน์การผลิต (Production line redesign) เพื่อแก้ไขปัญหาในจุดนี้รวมไปถึงแผนการดำเนินงานอื่นๆที่จะช่วยปรับปรุงกระบวนการผลิตทั้งหมดของบริษัททั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยหลังจากจบโครงการนี้หากบริษัทสามารถดำเนินการตามแผนได้ทั้งหมดเราคาดการณ์ว่ากำลังการผลิตจะเพิ่มขึ้นมากถึง 22% โดยไม่ต้องลงทุนเครื่องจักรเพิ่มและใช้จำนวนพนักงานในการผลิตเท่าเดิม ในขณะเดียวกันเราคาดการณ์ว่าผลกำไรของบริษัทจะเพิ่มขึ้นเป็น 6 ล้านบาทต่อปี

ตัวอย่างที่ 1 : โรงงานแปรรูปอาหารที่ต้องการเพิ่มกำลังการผลิตและยอดขายในอนาคต

โรงงานมีเป้าหมายที่จะเพิ่มกำลังการผลิตและยอดขายในอนาคต โดยหลังจากที่ลิบ คอนซัลติ้งเข้าไปวินิจฉัยโรงงานจึงพบปัญหาหลักที่ส่งผลต่อกำลังการผลิตคือ การใช้เครื่องจักรผลิตต่ำกว่าศักยภาพ และปัญหาการจัดวางพื้นที่ที่ส่งผลให้การผลิตไม่ต่อเนื่องและมีข้อจำกัด ซึ่งลิบ คอนซัลติ้งได้นำเสนอการจัดทำแผนในการปรับปรุงกระบวนการวางแผนผลิตให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้นและปรับโครงสร้างโรงงานใหม่ให้สอดคล้องกับการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

กรณีศึกษาที่ 2: ลดความสูญเสียจากเครื่องจักร breakdown ด้วยแผนการสร้างระบบ Technician transformation

อุตสาหกรรม:

วัสดุก่อสร้าง

ปัญหา:

ส่วนที่เป็นปัญหาสูงที่สุดที่ส่งผลต่อกำลังการผลิต และกำไรของบริษัทจะเป็นเรื่องของเครื่องจักร Breakdown บ่อย ซึ่งสาเหตุเกิดจากการที่ Preventive maintenance (PM) ไม่ได้ดำเนินการอย่างถูกต้อง และกฏเกณฑ์ของการตรวจสอบไม่แน่นหนา

ผลลัพธ์ :

ผลจากการทำ OpX diagnosis พบว่าปัญหาใหญ่ที่สุดจะเป็นเรื่องของเครื่องจักร Breakdown บ่อย ซึ่งสาเหตุเกิดจากการที่ Preventive maintenance (PM) ไม่ได้ดำเนินการอย่างถูกต้อง และขาดระบบการ monitor และควบคุมให้ทำได้ตามแผนจริง ๆ อีกทั้งยังพบจุดที่สามารถพัฒนากระบวนการทำงานของพนักงานในอีกหลายจุดงาน โดยลิบได้เสนอแผนในการทำ Technician transformation เพื่อแก้ไขปัญหาในในจุดนี้อย่างเร่งด่วน (Quick win) ซึ่งหลังดำเนินการจะสามารถเพิ่มกำไรให้บริษัทได้ถึง 11 ล้านบาทต่อปี อีกทั้งยังได้นำเสนอแผนการดำเนินงานที่จะช่วยปรับปรุงกระบวนการผลิตทั้งหมดของบริษัท ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว อีกด้วย

ตัวอย่างที่ 2 เป็นบริษัทผลิตวัสดุก่อสร้าง

ซึ่งหลังจากที่ลิบได้เข้าไปวินิจฉัยก็พบว่า ส่วนที่เป็นปัญหาสูงที่สุดที่ส่งผลต่อกำลังการผลิต และกำไรของบริษัทจะเป็นเรื่องของเครื่องจักร Breakdown บ่อย ซึ่งสาเหตุเกิดจากการที่ Preventive maintainance (PM) ไม่ได้ดำเนินการอย่างถูกต้อง และกฏเกณฑ์ของการตรวจสอบไม่แน่นหนา ลิบได้ให้คำแนะนำในการจัดทำแผน Technician transformation เป็นแผน Quick win ซึ่งหลังดำเนินการจะสามารถเพิ่มกำไรให้บริษัทได้ถึง 11 ล้านบาทต่อปี

กรณีศึกษาที่ 3: ลดต้นทุนแรงงานที่ไม่จำเป็นด้วยแผนการวิเคราะห์อัตรากำลังที่เหมาะสม

อุตสาหกรรม:

 อุตสาหกรรมผลิตสีย้อม

ปัญหา:

การผลิตส่วนใหญ่ในบริษัทใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีข้อจำกัดหลายอย่าง  จากการวินิจฉัยพบว่าเวลาที่เครื่องจักรทำงานอยู่จำนวนพนักงานที่ต้องรอเครื่องจักรทำงานโดยไม่ได้ทำงานอื่นมีจำนวนมากกว่า 60% ของเวลาทำงาน

ผลลัพธ์ :

ผลการวินิจฉัยความเป็นเลิศด้านการดำเนินงาน (OpX diagnosis) พบปัญหาหลักคือ มีการใช้พนักงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพโดยพนักวานมีช่วงเวลาว่างมากถึง 60% โดยลิบ คอนซัลติ้งได้เสนอแผนการเพื่อแก้ปัญหานี้ด้วยการนำเครื่องมืออัลกอริธึมมาช่วยในการกำหนดจำนวนพนักงานที่เหมาะสมในแต่ละจุดงานล่วงหน้าเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนผลิต นอกจากนี้แผนยังรวมถึงกลยุทธ์เพื่อจัดการกับปัญหาอื่นๆ ของบริษัท โดยหลังจากจบโครงการนี้หากบริษัทสามารถดำเนินการตามแผนคาดว่าเครื่องมือคำนวณแรงงานที่เหมาะสมแบบอัตโนมัติ(Automated optimal labor calculation tool)จะช่วยลดต้นทุนแรงงานได้มากถึง 6 ล้านบาทต่อปี โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มเติม

ตัวอย่างที่ 3 : บริษัทในอุตสาหกรรมผลิตสีย้อม

การผลิตส่วนใหญ่ในบริษัทใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีข้อจำกัดหลายอย่าง โดยหลังจากที่ลิบ คอนซัลติ้งเข้าไปวินิจฉัยจึงพบว่า บริษัทสามารถลดปริมาณพนักงานได้ผ่านการปรับกระบวนการจัดการกำลังคนตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนการผลิตไปจนถึงการบริหารกำลังคนระหว่างวันเพื่อลดช่วงเวลารอคอยเครื่องจักรดำเนินงานในแต่ละจุด ซึ่งปัจจุบันมีเวลารอคอยมากกว่า 60% ของการทำงาน สำหรับประเด็นนี้เราจึงพิจารณานำเสนอแผนในการจัดทำระบบวางแผนการผลิตพร้อมเครื่องมือคำนวณแรงงานอัตโนมัติที่เหมาะสมซึ่งสามารถกำหนดจำนวนพนักงานในแต่ละจุดงานและแต่ละช่วงเวลาอย่างเหมาะสมล่วงหน้าตั้งแต่ตอนวางแผนการผลิต

กรณีศึกษาที่ 4: ควรทำอย่างไรเมื่อพบว่าสินค้าขายดีเกินกว่าครึ่งไม่ได้สร้างกำไรให้บริษัท

อุตสาหกรรม:

อุตสาหกรรมอาหาร

ปัญหา:

หลังจากที่ลิบ คอนซัลติ้งได้เข้าไปวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายสินค้าของบริษัทอาหารแห่งหนึ่งอย่างละเอียดจึงพบว่าสินค้าที่ขายดีเกินกว่าครึ่งไม่ได้สร้างกำไรให้กับบริษัทส่งผลให้บริษัทต้องรีบดำเนินการลดต้นทุนอย่างเร่งด่วน

ผลลัพธ์ :

ผลการวินิจฉัยความเป็นเลิศด้านการดำเนินงาน (OpX diagnosis) พบปัญหาหลักคือ สินค้าที่ขายดีเกินกว่าครึ่งได้สร้างกำไร สาเหตุจากโครงสร้างต้นทุนที่ไม่เหมาะสมหลังจากการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายรายสินค้าอย่างละเอียด  โดยลิบ คอนซัลติ้งได้เสนอแผนการปรับลดต้นทุนผ่านการการลดราคาและปริมาณการใช้งาน นอกจากนี้เรายังช่วยดำเนินการลดต้นทุนส่วนที่มีความเร่งด่วน โดยสามารถลดค่าใช้จ่ายได้มากถึง 10%สำหรับสินค้าที่สำคัญ มีผลกระทบสูงและคิดเป็น 3.5 ล้านบาทต่อปีภายในระยะเวลาเพียงเดือนเดียว

ตัวอย่างที่ 4 : บริษัทอาหาร

หลังจากที่ลิบ คอนซัลติ้งเข้าไปวินิจฉัยต้นทุนของบริษัท เช่น ค่าใช้จ่ายของแต่ละสินค้าจึงพบว่าสินค้าที่ขายดีเกินกว่าครึ่งไม่ได้สร้างกำไรให้กับบริษัท จึงจำเป็นที่จะต้องลดต้นทุนโดยด่วนโดยลิบ คอนซัลติ้งได้ใช้หลักการของ Pareto 80/20 เพื่อหารายการสินค้าที่มีผลกระทบสูงก่อนแล้วก็ประเมินความเป็นไปได้ในการลดต้นทุนด้วยการใช้ราคาเป็นเกณฑ์จากนั้นจึงดำเนินการตามแผนโดยอาศัยฐานข้อมูลของของลิบ คอนซัลติ้ง ซึ่งในเคสตัวอย่างนี้ เราสามารถลดช่วยบริษัทลดค่าใช้จ่ายได้มากถึง 10% ของสินค้าที่มีผลกระทบสูงหรือคิดเป็น 3.5 ล้านบาทต่อปีภายในระยะเวลาเพียงเดือนเดียว