การทำ Smart factory ทำให้สามารถนำข้อมูลจากกระบวนการผลิตมาวิเคราะห์ได้แบบ real-time ด้วยระบบที่เชื่อมต่อกันทั้งหมด ช่วยลดงาน manual ลดการทำงานซ้ำซ้อน และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในภาพรวม
การนำเทคโนโลยี smart factory ช่วยให้สามารถบริหารการใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิตได้อย่างแม่นยำแบบ real-time ลดการใช้แรงงานที่มากเกินความจำเป็น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในด้านดำเนินการในภาพรวมลดลง
ด้วยการประยุกต์ระบบเซ็นเซอร์, IIoT และการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ real-time ในการทำ smart factory จะช่วยควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพที่ดีสม่ำเสมอได้ตั้งแต่ต้นทางผ่านการตรวจจับและแก้ไขข้อบกพร่องได้แบบ real-time ส่งผลให้ลดการสูญเสีย เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย zero-defect
Smart factory transformation ช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่อ demand ของตลาด, ความต้องการของลูกค้า, และแนวโน้มของอุตสาหกรรม ได้อย่างทันท่วงที
หลาย ๆ บริษัทมีความไม่ชัดเจนในทิศทางขององค์กร ทำให้แต่ละหน่วยงานต่างแยกกันดำเนินโครงการปรับปรุงพัฒนาของตนเองโดยไม่ได้ดูภาพรวมของทั้งองค์กร ส่งผลให้การพัฒนาขาดความเชื่อมโยงไปถึงเป้าหมายหลักขององค์กร อีกทั้งผลลัพธ์ที่ได้ก็จะอยู่ในวงจำกัดเฉพาะพื้นที่ที่หน่วยงานตัวเองดูแล ทำให้พลาดโอกาสในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพสูงสุด
หลายครั้งที่ผู้บริหารไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะสามารถตัดสินใจการลงทุนที่สำคัญๆได้ เนื่องจากขาดการประเมินความคุ้มค่าในการลงทุนที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ หรือในบางโครงการที่ลงทุนไปแล้วกลับพบว่ามีค่าใช้จ่ายแอบแฝงอีกหลายๆอย่างที่สุดท้ายแล้วไม่บรรลุผลลัพธ์ของการลงทุนตามที่ต้องการ รวมถึงไม่สามารถบำรุงรักษาระบบให้ใช้งานได้เป็นปกติ และกลายเป็นการลงทุนที่ล้มเหลวในที่สุด
บางบริษัทมุ่งเน้นที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้ โดยไม่ได้ตระหนักถึงผลกระทบ และความจำเป็นทางธุรกิจอย่างเพียงพอ ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นการลงทุนที่มากเกินความจำเป็น และไม่ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
บางกรณีพบว่าไม่มีการกำหนดผู้รับผิดชอบโครงการอย่างเป็นทางการ (PIC) เพื่อสร้างเป็นทีมบริหารโครงการที่จะสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมเดียว รวมไปถึงขาดการบริหารความคืบหน้าของโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งทีเกิดขึ้นคือ หลายๆหน่วยงานจะทำโครงการปรับปรุงพัฒนาแต่ของตนเอง ส่งผลให้เกิดงานที่ซ้ำซ้อน อีกทั้งยัง ขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรในภาพรวมขององค์กรที่ไม่คุ้มค่า สุดท้ายจึงเกิดเป็นความล่าช้าในการที่จะบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาสู่ smart factory
ขับเคลื่อนโครงการ smart factory ที่นำด้วยมุมมองด้านประโยชน์ทางธุรกิจ ผ่านการกำหนดนโยบายและกระบวนการทำงานที่เหมาะสม ก่อนที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกการลงทุน จะเกิดประโยชน์ทางธุรกิจ และด้วยหลักการนี้จะช่วยป้องกันการสูญเสียเงินลงทุนเพื่อเทคโนโลยีที่ไร้ประโยชน์กับธุรกิจได้
สิ่งที่ควรทำก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนทรัพยากรจำนวนมาก คือการจัดทำแผนแม่บทที่จะนำพาไปถึงเป้าหมายในระยะยาวขององค์กร จากนั้นจึงเริ่มต้นทำตามแผนจากการทำโปรเจคตัวต้นแบบเพื่อให้ยืดหยุ่นต่อการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์จริง และเรียนรู้ผลลัทธ์ความสำเร็จ และและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของโปรเจคต้นแบบ เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถขยายผลไปทั้งองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
สำหรับการสร้างแผนแม่บท ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการกำหนด KPI ที่จะนำพาไปสู่ความสำเร็จในการทำ smart factory ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ:
1) นโยบายทางธุรกิจจากผู้บริหารระดับสูงและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ
2) การเปรียบเทียบเทียบผลการดำเนินงานกับคู่เทียบในอุตสาหกรรม และ
3) การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในอดีต
จัดตั้งทีมงานที่สามารถให้เวลาได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้การดำเนินโครงการตามแผนแม่บทเกิดความต่อเนื่อง โดยทีมงานควรประกอบด้วยกลุ่มที่รวมคนที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลายด้านเข้าด้วยกัน เช่น ด้านเทคโนโลยี, การดำเนินงาน, การบริหารโครงการ เพื่อให้ครอบคลุมทุกมิติในการพัฒนาองค์กรสู่ smart factory อย่างมีประสิทธิภาพ