CALL US TODAY
02-096-3496

Weekdays
09:30 ~ 18:00

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

กลยุทธ์ที่ 4 :  การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ที่มีประสิทธิภาพนั้นสามารถเกิดได้จากการกระจายความสมดุลของปัจจัยสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การวางแผนกำลังคน การบริหารจัดการคลังสินค้า การปรับปรุงกระบวนการขนส่ง การเลือกสถานที่อย่างรอบคอบ และปัจจัยอื่นๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งการบรรลุเป้าหมายและการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ

    • ที่ลิบ คอนซัลติ้ง เรามอบโซลูชั่นด้านการบริหารจัดการห่วงโซอุปทานที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับข้อจำกัดทางธุรกิจที่ไม่เหมือนใครของแต่ละบริษัท ช่วยให้มั่นใจได้ว่าจะบรรลุผลลัพธ์และประสิทธิภาพอันสูงสุด

สาเหตุที่บริษัทไม่สามารถปลดล็อกศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่

หากบริษัทของคุณกำลังพบเจอหนึ่งในปัญหาดังต่อไปนี้ ที่ลิบ คอนซัลติ้ง เราสามารถเข้าไปช่วยปรับปรุงให้การบริหารจัดการโซ่อุปทานของบริษัทมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้อีก

  1. จำเป็นต้องจัดเก็บสินค้าหรือวัตถุดิบเยอะ จนบางทีก็ต้องทิ้ง เพราะแผนการผลิตไม่แน่นอน
  2. การขยายพื้นที่คลังสินค้าอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าอัตราการผลิตจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีการเติบโตของปริมาณการผลิตเลยก็ตาม ส่งผลให้มีการสูญเสียทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์
  3. มีต้นทุนการขนส่งที่พุ่งสูง เมื่อยานพาหนะขนส่งยังทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งต้องจัดส่งสินค้าตามความต้องการของลูกค้า หรือต้องสำรองยานพาหนะเพิ่มเติมเพื่อรองรับช่วงพีคที่อาจมีเพียง 2-3 วัน
  4. ฝ่ายขนส่งจัดการเส้นทางขนส่งเอง โดยอาศัยประสบการณ์ของหัวหน้างานเป็นหลัก
  5. ไม่มีเวลาในการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง เพราะมีงานที่ต้องทำประจำอยู่แล้ว จึงต้องใช้เวลานอกเหนือกจากงานประจำมาดำเนินโครงการปรับปรุงพัฒนา
  6. การจัดการโครงการที่ไม่มีประสิทธิภาพส่งผลให้โครงการที่กำลังดำเนินการอยู่เกิดความล่าช้า ปัญหาไม่ถูกแก้ไขอย่างเหมาะสม และไม่ได้รับผลลัพธ์ตามที่คาดหวังไว้

 

ความสามารถในการบริหารจัดการห่วงโซอุปทาน

ความสามารถที่ 1: การวางแผนกำลังคนและการปรับโครงสร้างบริษัท (Manpower planning and restructuring)

การวางแผนและปรับโครงสร้างพนักงานอย่างมีกลยุทธ์ผ่านการวิเคราะห์ระดับพนักงานที่เหมาะสมกับแผนการผลิตเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรแรงงานอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด

ความสามารถที่ 2: การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานทางอ้อม (Indirect labor optimization)

การวางแผนจัดการสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นไปที่การลดระดับสินค้าคงคลัง เพื่อลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องและเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า

ความสามารถที่ 3: การจัดการด้านโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ (Logistics optimization)

การจัดการโลจิสติกอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งนำไปสู่การวางแผนเส้นทางที่สามารถคำนวณได้อย่างชำนาญและเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง

ความสามารถที่ 4: การสรรหาพื้นที่ที่เหมาะสม (Site selection)

การเลือกที่ตั้งผ่านการวิเคราะห์เครือข่ายสำหรับการวางที่ตั้งโรงงานหรือโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีการจัดวางสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

กรณีศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

กรณีศึกษา : การลดต้นทุนการขนส่งผ่านการวางแผนการใช้ยานพาหนะอย่างมีประสิทธิภาพ

อุตสาหกรรม :

 ธนาคาร

ปัญหา :

บริษัทประสบปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานเรื่องต้นทุนค่าขนส่งต่อเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากปริมาณรถขนส่งที่มีอยู่ปัจจุบันไม่สอดคล้องกับปริมาณงานที่เกิดขึ้นจริง ส่งผลให้บริษัทต้องแบกรับต้นทุนพนักงานที่มากเกินความจำเป็น ส่งผลให้ต้องมีการปรับปรุงกระบวนการเพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้อย่างเร่งด่วน

ผลลัพธ์ :

สามารถลดการใช้งานรถจาก 324 คัน เหลือเพียง 257คัน ซึ่งคิดเป็น 21% ของจำนวนรถทั้งหมด หรือสามารถประหยัดเงินเป็นจำนวนได้มากกว่า 90 ล้านบาทต่อปี

ตัวอย่าง : การจัดการต้นทุนด้านขนส่งเงินสดของธนาคารแห่งหนึ่ง

ธนาคารประสบปัญหาเรื่องต้นทุนค่าขนส่งต่อเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น จำนวนรถและพนักงานขับรถที่มีมากเกินกว่าปริมาณงานที่เกิดขึ้นจริง และขาดการบริหารจัดการด้านการวางแผนเส้นทางการวิ่งที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลให้เกิดต้นทุนการวิ่งต่อเที่ยวที่สูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น โดยก่อนปรับปรุงบริษัทมีรถที่ต้องบริหารจัดการจำนวน 324 คันโดยมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสูงถึง 460 ล้านบาทต่อปี

เพื่อรับมือกับปัญหาเหล่านี้และบรรลุการจัดการระบบขนส่งที่เหมาะสมที่สุดด้วยจำนวนรถที่น้อยที่สุด บริษัทได้ดำเนินการตามแผนเป็น 2 เฟส โดยเฟสที่ 1 เริ่มใช้ในเขตกรุงเทพมหานครผ่านการใช้กลยุทธ์แผนปฏิบัติงานเร่งรัด(quick-win) ส่งผลให้จำนวนรถลดลง 58 คัน หรือคิดเป็น 18% ของจำนวนรถทั้งหมด (มีผลกระทบสูง) ในขณะที่เฟส 2 จะครอบคลุมพื้นที่ภูมิภาค โดยทั้งสองเฟสจะประกอบด้วยขั้นตอนหลักสามขั้นตอน ได้แก่

1.เก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์วิธีการจัดรถแบบเดิมของบริษัท 

2.ออกแบบเส้นทางวิ่งแบบใหม่ด้วยการสร้างแบบจำลองที่ตอบโจทย์เงื่อนไขการวิ่งรถของบริษัทได้ทั้งหมด 

3.กำหนดจำนวนรถที่เหมาะสมที่ยังคงสามารถบริหารจัดการงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหัวใจสำคัญจะขึ้นอยู่กับขั้นตอนที่ 2 ซึ่งจะต้องออกแบบเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพ (Optimization tool) ที่สามารถออกแบบเส้นทางการวิ่งแบบใหม่ที่ใช้จำนวนรถน้อยที่สุดและต้องสามารถสะท้อนถึงปัญหาจากสภาพการวิ่งจริงที่หน้างานได้ ไม่ว่าจะเป็นการคำนวนถึงระยะทางที่เกิดขึ้นจริง เวลาที่ใช้บนถนน หรือความจุสูงสุดบนรถ เป็นต้น 

ซึ่งในเฟสแรกได้ดำเนินการบนพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือสามารถลดปริมาณการใช้รถลงจากเดิม 58 คัน ลดเหลือ 42 คัน หรือลดลงได้ 28% ของจำนวนรถในกรุงเทพฯและปริมณฑล

ต่อมาหลังจากเฟสแรกประสบความสำเร็จจึงดำเนินการต่อเฟส 2 ในส่วนของพื้นที่ภูมิภาค โดยใช้ขั้นตอนการทำงานแบบเดียวกับเฟสแรก ผลลัพธ์ที่ได้คือ สามารถลดปริมาณการใช้รถลงจากเดิม 266 คัน ลดเหลือ 215 คัน หรือลดลงได้ 19% ของจำนวนรถในพื้นที่ภูมิภาค

ผลลัพธ์ที่ได้แสดงให้เห็นถึงจำนวนรถที่ลดลงจาก 324 คัน เหลือเพียง 257คัน คิดเป็น 21% ของจำนวนรถทั้งหมด หรือคิดเป็นเงินที่สามารถประหยัดได้มากกว่า 90 ล้านบาทต่อปี

supply chain management
pacy-icon เริ่มปรึกษาเรา