ห่วงโซ่คุณค่า (The Value Chain)
ทุกคนทราบกันโดยทั่วไปว่า ห่วงโซ่คุณค่าคือ “กระบวนการภายในของบริษัทที่สร้างคุณค่า” และคนที่กล่าวประโยคนี้คือ ไมเคิล พอร์เตอร์
ในหนังสือ Competitive Advantage (1985) พอร์เตอร์ได้แบ่งและจัดระเบียบกิจกรรมขององค์กรเป็นห้ากิจกรรมหลัก และสี่กิจกรรมรอง โดยห่วงโซ่คุณค่าอาจจะกลายเป็นคำที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน แต่ความคิดนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?
พอร์เตอร์เป็นคนที่ฉลาดหลักแหลม โดยฉายแววตั้งแต่ช่วงที่เขาเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัย เดิมที่แล้วเขานำเสนอ Five Forces Analysis เป็นวิทยานิพนธ์ของเขา ซึ่งโมเดลนี้วิเคราะห์โครงสร้างอุตสาหกรรมทจากการสังเกตห้าประการ และถูกสร้างขึ้นเพื่อหาตลาดที่มีกำไร
พอร์เตอร์ที่เน้นความสำคัญของการกำหนดตลาดที่มีกำไรและสถานที่ที่มีกำไร ได้คิดค้นแนวคิดของห่วงโซ่คุณค่า เมื่อเขาตระหนักว่า การทำกำไรในตลาดที่มีกำไร บริษัทต้องจัดระบบกิจกรรมภายในตนเองด้วย
ดังนั้น จึงเกิด Five Forces Analysis สำหรับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก และห่วงโซ่คุณค่าสำหรับสภาพแวดล้อมภายใน
ห่วงโซ่คุณค่าใหม่: การเชื่อมต่อข้ามพรมแดนของบริษัท
การสิ้นสุดของศตวรรษที่ 20 ประเทศที่พัฒนาแล้ว กำลังเผชิญกับเศรษฐกิจที่อิ่มตัวและแบบจำลองธุรกิจแบบดั้งเดิมกำลังเข้าใกล้ขีดจำกัดสูงสุด นอกจากนี้การมาถึงของคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตนำเสนอการพัฒนาของเครือข่ายข้อมูล บริษัทหลายแห่งที่ผลิตสินค้าที่แตกต่างกันเริ่มร่วมมือกัน โดยมีตัวอย่างที่ชัดเจน คือไมโครซอฟท์และอินเทล ทั้งคู่ได้รับความสำเร็จมหาศาลจากการร่วมมือกัน การได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอกเป็นปัจจัยที่ไม่ได้ถูกรวมใน Five Forces Analysis ของพอร์เตอร์ และบางคนได้แนะนำให้เพิ่มลงในโมเดลเป็นพลังที่หก: complementors
การนำเสนอ complementors เปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรมอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะเดียวกัน ยิ่งบริษัททำงานร่วมกับบริษัทอื่น ๆ ขึ้นไป ขีดเส้นขอบระหว่างภายนอกและภายในก็ยิ่งมีความไม่ชัดเจน
เนื่องจากห่วงโซ่คุณค่าทำหน้าที่จัดระบบกระบวนการภายในของบริษัท มันเป็นธรรมชาติที่โซ่เองก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามด้วย
แม้ว่าในอุตสาหกรรม 4.0 วิวัฒนาการของโซ่คุณค่าเข้าสู่รูปแบบของเครือข่ายก็กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
แนวโน้มชัดเจนมากขึ้นในธุรกิจแพลตฟอร์มช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ระบบนิเวศที่สร้างขึ้นโดยการเข้าร่วมของเครือข่ายต่าง ๆ แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่คุณค่า และดูเหมือนว่าห่วงโซ่คุณค่าในปัจจุบันถูกคาดหวังว่าจะไม่ถูกจำกัดในขอบเขตของบริษัทของตนเอง แต่ต้องเชื่อมต่อบริษัทกับโลกภายนอกต่อไป พัฒนาเป็นกระบวนการสร้างค่าใหม่