CALL US TODAY
02-096-3496

Weekdays
09:30 ~ 18:00

การปรับปรุงกระบวนการ

กลยุทธ์ที่ 3 :  การปรับปรุงกระบวนการ

การเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพผ่านเทคนิคการปรับปรุงกระบวนการมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงานและเพื่อบรรลุความเป็นเลิศในการดำเนินงาน (Operation Excellence)

    • ที่ลิบ คอนซัลติ้ง เราไม่ใช่แค่เสนอเครื่องมือหรือโปรแกรมเพื่อพัฒนาธุรกิจของคุณเท่านั้น แต่เรายังมอบแนวทางพร้อมคำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจของคุณโดยเฉพาะ คุณค้นหาทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจของคุณโดยเฉพาะ
    • ทีมของเราทำงานใกล้ชิดกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกส่วนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สร้างความพึงพอใจ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิบัติและความเป็นเลิศในการดำเนินงาน

สาเหตุที่บริษัทไม่สามารถปลดล็อกศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่

หากบริษัทของคุณกำลังพบเจอหนึ่งในปัญหาดังต่อไปในการดำเนินงาน ท่ามกลางปัญหาเหล่านี้คุณอาจเจอโอกาสที่จะพัฒนากระบวนการให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

  1. กระบวนการผลิตยังคงใช้คนเท่าเดิมหรือเปลี่ยนแปลงน้อยมากแม้ปริมาณการผลิตจะลดลงอย่างมากแล้วก็ตาม
  2. กระบวนการผลิตสินค้าขาดความต่อเนื่องทั้งด้านสถานที่และเวลาในการผลิต จึงต้องใช้กลยุทธ์การปรับปรุงกระบวนการที่คล่องตัว
  3. กระบวนการตรวจสอบเป็นแบบสุ่ม ซึ่งไม่สามารถวัดได้ว่าปริมาณที่ถูกตรวจสอบจริงๆเป็นกี่ % ของปริมาณทั้งหมด
  4. การติดต่อสื่อสารระหว่างแผนกมักใช้เวลานานโดยใช้เวลาเฉลี่ยอย่างน้อย 1-2 วัน กว่าจะได้รับคำตอบรับ
  5. จำนวนรายงานประจำของแต่ละแผนกมีจำนวนมากโดยที่เนื้อหารายงานส่วนใหญ่เป็นเพียงการบันทึกสำหรับการตรวจสอบย้อนหลังเท่านั้น
  6. ไม่มีเวลาในการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องเพราะมีงานที่ต้องทำประจำอยู่แล้วจึงต้องใช้เวลานอกเหนือกจากงานประจำมาดำเนินโครงการปรับปรุงพัฒนา
  7. การจัดการโครงการที่ไม่มีประสิทธิภาพส่งผลให้โครงการที่กำลังดำเนินการอยู่เกิดความล่าช้า ปัญหาไม่ถูกแก้ไขอย่างเหมาะสม และไม่ได้รับผลลัพธ์ตามที่คาดหวังไว้

ความสามารถในการปรับปรุงกระบวนการ

ความสามารถที่ 1: การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน (Labor optimization)

ที่ลิบ คอนซัลติ้ง เราช่วยเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานโดยเน้นไปที่การแก้ปัญหาในทุกๆกระบวนการที่มีผลกระทบสูงต่อบริษัทและมีการใช้แรงงานคนเยอะ ด้วยการเข้าไปวิเคราะห์ปัญหาที่หน้างานอย่างละเอียด  กำหนดแนวทางและเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้แก้ไขปัญหาในแต่ละจุดให้กับบริษัทเพื่อผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม

ความสามารถที่ 2: การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานทางอ้อม (Indirect labor optimization)

การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานทางอ้อมนั้นจะเน้นไปที่การปรับปรุงแก้ไขปัญหาในส่วนงานสนับสนุนต่างๆที่อาจจะถูกละเลยในการปรับปรุงพัฒนาซึ่งทำให้เกิดการใช้แรงงานที่มากเกินความจำเป็น โดยผลที่ได้จะสามารถลดการใช้พนักงานในภาพรวมของบริษัทได้ดียิ่งขึ้นกว่าการปรับปรุงกระบวนการผลิตแต่เพียงอย่างเดียว

ความสามารถที่ 3: กระบวนการทำงานแบบแผนภาพ (Workflow visualization)
ความสามารถที่ 4: เทคโนโลยีฝาแฝดดิจิทัล (Digital twin))
ความสามารถที่ 5: การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล (Digitalization)

กรณีศึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงกระบวนการ

Case: ปลดล็อกแนวทางลดต้นทุนและเพิ่มกำไร ด้วยการทำ Process improvement

อุตสาหกรรม :

อุตสาหกรรมอาหาร

ปัญหาด้านการปรับปรุงกระบวนการ :

เนื่องด้วยในกระบวนการผลิตหลักของบริษัทยังต้องพึ่งพาแรงงานเป็นจำนวนมาก หลายบริเวณในบริษัทก็จะพบการใช้พนักงานที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มกับสินค้ากระจายอยู่ทั่วไปในไลน์ผลิต เช่น พนักงานทำงานซ้ำซ้อนกัน ไลน์ผลิตขาดความต่อเนื่อง หรือแม้กระทั่งผลิตสินค้าที่ไม่ก่อให้เกิดกำไรกับบริษัทโดยไม่รู้ตัว จึงต้องเร่งดำเนินการพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและใช้ทรัพยากรในการผลิตที่มีอย่างคุ้มค่าที่สุด

ผลลัพธ์จากการปรับปรุงกระบวนการ :

ในช่วงเริ่มต้นของโครงการ บริษัทสามารถลดการใช้แรงงานลงได้มากกว่า 37% ในขณะที่ยังสามารถคงคุณภาพในการผลิตได้เหมือนเดิมอีกทั้งยังไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนปรับปรุงไลน์ผลิตเพิ่มเติม นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาแผนทั้งโครงการคาดการณ์ได้ว่าจะสามารถประหยัดได้มากถึง 24 ล้านบาทต่อปี

ตัวอย่าง : บริษัทผลิตสินค้าอาหารแปรรูป

กระบวนการการผลิตหลักของบริษัทยังต้องพึ่งพาแรงงานเป็นจำนวนมาก ประกอบกับโครงสร้างต้นทุนแรงงานของบริษัทที่ยังคงสูงเมื่อเทียบกับบริษัทคู่แข่งหลักในธุรกิจเดียวกัน เมื่อลิบ คอนซัลติ้ง ได้วินิจฉัยกระบวนการจึงพบว่า บริษัทยังคงมีจุดที่มีการใช้คนในกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มอยู่ในหลายๆจุด เช่น พนักงานทำงานซ้ำซ้อนกันส่งผลให้ต้องใช้พนักงานมากเกินความจำเป็น ดังนั้นบริษัทจึงให้ลิบ คอนซัลติ้งเข้ามาช่วยดำเนินการปรับปรุงพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและใช้ทรัพยากรในการผลิตที่มีอย่างคุ้มค่าที่สุด

สิ่งที่ลิบ คอนซัลติ้ง ได้ช่วยเหลือในโปรเจคมี 3 ขั้นตอนหลัก ได่แก่ 

  1. เข้าไปวิเคราะห์หากิจกรรมที่ไม่จำเป็นที่จะต้องมีในกระบวนการผลิตโดยส่วนสำคัญในขั้นตอนนี้คือการกำจัดกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ออกจากกระบวนการผลิต ซึ่งหลังการวิเคราะห์กระบวนการอย่างละเอียด พบว่าบริษัทสามารถที่จะกำจัดกิจกรรมบางประเภทได้ทันทีโดยไม่กระทบกับงานในส่วนอื่นๆ และไม่ต้องดัดแปลงกระบวนการผลิตเลย เช่น สามารถจัดการกับงานตรวจสอบที่ซ้ำซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตอื่นๆ
  2. เราทุ่มเทให้กับการออกแบบกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยศึกษาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งรวมถึงการสร้างเครื่องมือที่ช่วยให้เห็นภาพขนาดของสินค้า ช่วยให้การจัดเรียงสินค้ารวดเร็วขึ้น และใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้เพิ่มความต่อเนื่องในการผลิต (process automation) ซึ่งในขั้นตอนนี้ลิบ คอนซัลติ้ง ยังคำนึงถึงความคุ้มค่าในการลงทุนโดยมีการสร้างแผนการอย่างละเอียดและปรับปรุงแผนงานอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะสามารถผลักดันให้โครงการบรรลุผลได้ตามระยะเวลาที่กำหนด 
  3. วิเคราะห์ถึงจำนวนพนักงานที่เหมาะสมในแต่ละจุดตามแผนการผลิตด้วยโปรแกรมที่ออกแบบมาพิเศษโดยเฉพาะเพื่อใช้ประกอบกับการตัดสินใจวางกำลังคนอย่างเหมาะสมตามเงื่อนไขการผลิตของบริษัท

หนึ่งในผลงานที่ประสบความสำเร็จของลิบ คอนซัลติ้ง คือ การลดจำนวนพนักงานที่ใช้ในสายการผลิตได้อย่างน่าทึ่ง โดยจากเดิมที่ต้องใช้พนักงานถึง 16 คน เหลือเพียง 10 คน คิดเป็นการลดลงกว่า 37% โดยที่คุณภาพของงานผลิตยังคงอยู่ในระดับดีเยี่ยม อีกทั้งยังไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนปรับปรุงไลน์ผลิตอีกด้วย นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาภาพรวมของโครงการคาดการณ์ว่าจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 24 ล้านบาทต่อปี

pacy-icon เริ่มปรึกษาเรา