CALL US TODAY
02-096-3496

Weekdays
09:30 ~ 18:00

ญี่ปุ่นและตะวันตก การจัดการสไตล์ไหนที่ใช่?

Masataka SATOU (Senior Manager) Consulting Headquarters (LiB Consulting Co., Ltd.)

เจาะลึกไปในรากฐานและข้อกำหนดของการจัดการที่แตกต่าง ในขณะที่เรากำลังก้าวเข้าสู่วิธีการจัดการที่เป็นสากล

ถ้าเกิดเป้าหมายของเราคือการหาวิธีการจัดการที่เป็นกลาง การที่เราจะมานั่งหาว่าสไตล์การจัดการแบบตะวันตกหรือตะวันออกนั้นดีกว่ากันนั้นคงไม่ใช่สิ่งที่มีประโยชน์นัก

ในทางกลับกัน การที่จะหาว่าวิธีการจัดการแบบไหนนั้นดีที่สุดก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรจะทำ แต่บริษัทควรที่จะเข้าใจถึงรูปแบบของการจัดการเหล่านั้นเพื่อนำมาใช้กับบริษัทมากกว่า ด้วยความที่แต่ละบริษัทนั้นล้วนแตกต่าง ทั้งในเชิงอัตลักษณ์ และปัจจัยที่แวดล้อม ดังนั้นรูปแบบการจัดการที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบริษัทจึงต่างกันออกไป

โดยสรุปแล้ว จากที่เราเปรียบเทียบระหว่างสไตล์การจัดการแบบตะวันออกและตะวันตกนั้น ในการที่เราจะหาวิธีการจัดการที่เป็นสากลได้ เราจำเป็นจะต้องรวมการจัดการทั้งสองฝั่งเข้าด้วยกัน ตั้งแต่รากฐานไปจนถึงนโยบายในการจัดการ

3 ลำดับชั้นของบริษัท

ลำดับชั้นของบริษัทนั้นประกอบไปด้วย รากฐานของการจัดการ การวิเคราะห์ถึงความเปลี่ยนแปลงในธุรกิจ และนโยบายในการจัดการ

ชั้นล่างสุด คือรากฐานของการจัดการ ชั้นนี้ประกอบไปด้วยตัวตน อัตลักษณ์ และธรรมเนียมของบริษัทที่ประกอบรวมกันเป็นวิธีการคิดและดำเนินธุรกิจของบริษัทนั้น

ชั้นกลาง คือการวิเคราะห์ถึงความเปลี่ยนแปลงในธุรกิจ ชั้นนี้ประกอบไปด้วยปัจจัยแวดล้อมของธุรกิจ เช่น สภาพเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และนโยภายของภาครัฐ รวมไปถึงปัจจัยภายใน เช่น ตลาด และคู่แข่ง ถึงแม้ว่าบริษัทส่วนใหญ่อาจมีปัจจัยเหล่านี้เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน การนำปัจจัยเหล่านี้มาวิเคราะห์จะทำให้เกิดผลที่ต่างออกไป โดยขึ้นอยู่กับสภาวะของธุรกิจมนขณะนั้น

ชั้นบนสุด คือนโยบายการจัดการ ซึ่งประกอบไปด้วยมาตรการและระบบต่างๆในบริษัท ในชั้นนี้สิ่งที่มักถูกนำเสนอคือกรณีศึกษาของบริษัทต่างๆรวมไปถึง เกณฑ์มาตรฐานในอุตสาหกรรม

ลักษณะของการจัดการแบบญี่ปุ่นและตะวันออก

รากฐานของการจัดการ

ส่วนนี้เป็นส่วนที่มีความแพร่หลายอยู่ในทุกทุกบริษัท สำหรับการจัดการแบบญี่ปุ่นนั้นจะมีลักษณะสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์ดังนี้

  1. การเคารพในตัวบุคคลากร
  2. บริษัทตั้งอยู่เพื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคน
  3. การมุ่งเน้นไปที่การสร้างการเติบโตในระยะยาว

ในอีกมุมหนึ่ง การจัดการแบบตะวันตกจะมีลักษณะสำคัญดังนี้

  1. เป้าหมายเพื่อการเพิ่มทุนทรัพย์
  2. บริษัทนั้นเป็นของผู้ถือหุ้น หรือ เจ้าของ
  3. การมุ่งเน้นไปที่การสร้างกำไรในระยะสั้น

การวิเคราะห์ถึงความเปลี่ยนแปลงในธุรกิจ

ในส่วนนี้ ความแตกต่างมักอยู่ที่สภาวะและปัจจัยของบริษัทมากกว่ารูปแบบการจัดการว่าเป็นแบบญี่ปุ่น หรือ แบบตะวันตก 

นโยบายการจัดการ

ในส่วนนี้ นโยบายของบริษัทมักถูกจัดตั้งขึ้นโดยคำนึงถึงเงื่อนไขในสองส่วนข้างต้นที่เป็นพื้นฐาน โดยที่สำหรับการจัดการแบบญี่ปุ่นแล้ว นโยบายที่เกิดขึ้นมักนำไปสู่ การจ้างงานบุคคลากรแบบระยะยาว การให้ความเคารพความอาวุโส การร่วมมือกันคิด ระบบการจัดการแบบล่างขึ้นบน และอีกมากมาย สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ทำให้การจัดการแบบญี่ปุ่นนั้นแตกต่างจากการจัดการแบบตะวันตกนั่นเอง

บทสรุป

ในขณะที่โลกธุรกิจนั้นเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นโยบายต่างๆในการจัดการแบบญี่ปุ่นจึงไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป แม้นว่านโยบายเหล่านั้นจะนำมาซึ่งความสำเร็จในอดีต

ในทางกลับกัน หากบริษัทเพียงแต่มุ่งสู่ความสำเร็จโดยไม่คำนึงถึงสิ่งอื่น โดยการนำนโยบายของบริษัทอื่นที่ประสบความสำเร็จมาใช้ อาจนำไปสู่ปัญหาภายในด้านความขัดแย้งต่อัตลักษณ์ของบริษัท และทำให้เกิดความผิดพลาดในที่สุด

แม้ว่าในบทความนี้จะพูดถึงบริษัทในภาพรวม แต่หลักการต่างๆที่ได้ถูกกล่าวถึงสามารถนำไปใช้กับบริษัทใดบริษัทนึงได้อย่างแน่นอน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการหารากฐานการจัดการขององค์กร วิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงในธุรกิจอย่างถูกต้อง และกำหนดนโยบายการจัดการที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง

ที่ลิบ คอนซัลติ้ง เรานำเสนอเครื่องมือการวินิจฉัยที่ถูกสร้างมาจากหลักการนี้ เพราะเราหวังอย่างยิ่งที่จะเป็นส่วนนึงในการช่วยพัฒนาการจัดการในองค์กรของคุณให้ดีที่สุด

pacy-icon เริ่มปรึกษาเรา